เมื่อวาน : 2678 ครั้ง
วันนี้: 344 ครั้ง
อื่นๆที่คล้ายกัน
คลิกเพื่อดูทั้งหมด ->
|
พระผงเจ้าสัว ตำหรับหลวงปู่บุญ พิมพ์ใหญ่ จ.นครปฐม ปี 2535
จำนวนผู้เข้าชม : 1390 คน
|
หมวดหมู่ : หมวดหมู่ B
ราคา : 2500 .-
พระผงเจ้าสัว 2 ปี 2535 จำนวนการสร้างน้อย เนื้อหามวลสารเข้มข้น(ผสมผงตะไบ ของเจ้าสัว2 ของทุกเนื้อลงไปในส่วนผสม) ด้านหลังปั้มหมึกแดงคำว่า"เจ้าสัว"(แทนการตอกโค๊ต) มาพร้อมซองเดิมจากวัด
เหรียญเจ้าสัว พระเครื่องซึ่งมีกิตติคุณทางโชคลาภเป็นเยี่ยมของ หลวงปู่บุญ นอกจากพุทธานุภาพเป็นเอกทางโชคลาภแล้ว ยังมีกฤตยานุภาพทางแคล้วคลาดเป็นเยี่ยมอีกด้วย นับเป็นพระเครื่องอีกชนิดหนึ่งของ หลวงปู่บุญ ที่ค่อนข้างหาได้ยาก เพราะผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหน ด้วยมีประสบการณ์ทางโชคลาภกันอยู่เสมอ แม้จะเอาทรัพย์สินมาแลกก็ยังไม่สนใจ เพราะมั่นใจว่าหากมี เหรียญเจ้าสัว แล้วการแสวงหาทรัพย์สินก็มิใช่เป็นเรื่องยาก คนนครชัยศรี หลายคนทีเดียวที่มีฐานะมั่งคั่งขึ้นด้วยบารมีของ เหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ เรียกว่า เหรียญเจ้าสัว สมชื่อที่เรียกขาน ใครมีไว้ไม่อดตาย ถ้ารู้จักทำมาหากิน บารมีแห่งเหรียญนี้ก็จะช่วยเสริมส่งให้ดีขึ้น
เหรียญเจ้าสัว ชื่อนี้คงมีเฉพาะพระของ หลวงปู่บุญ องค์เดียวเท่านั้น ไม่เคยได้ยินที่ไหน พูดได้ง่ายๆ ว่ามีแห่งเดียวในประเทศไทยหรือในโลกก็ว่าได้ เจ้าสัว กับ เถ้าแก่ นั้นไม่เหมือนกัน ถ้าอธิบายกันง่ายๆ ก็อธิบายได้ว่า ถ้า เถ้าแก่ มีทรัพย์สิน 5 เจ้าสัว ก็ต้องมีถึง 10 คือ เจ้าสัว นั้นรวยกว่า เถ้าแก่ นั่นเอง
เหตุที่เรียกว่า เหรียญเจ้าสัว เพราะสมัยก่อนนี้ เหรียญนี้เป็นเหรียญที่หาได้ยากที่สุด ผู้ที่มีไว้ล้วนเป็น เจ้าสัว ทั้งนั้น เช่น หลวงจู๊หยุด หรือ เจ้าสัว หยุด นายอากรสุราบ้านอยู่ตรงข้าม วัดกลางบางแก้ว ริมฝั่งแม่น้ำ มีเหรียญที่ได้จาก หลวงปู่บุญ เอาไว้หลายเหรียญ ใครๆ ก็คอยจ้องอยากจะขอแบ่งจากท่าน แต่ท่านก็หวงแหนไม่แบ่งให้ใคร
เจ้าสัว ชม จีรพันธ์ เจ้าของโรงสีเซ่งเฮงหลี เป็นศิษย์ของ หลวงปู่บุญ เป็นผู้มีความเคารพนับถือ หลวงปู่บุญ อย่างยิ่ง ได้เหรียญนี้จาก หลวงปู่บุญ ไปหลายเหรียญเช่นกัน ไม่ยอมแบ่งให้ใครทั้งสิ้น หลวงปู่จะสร้างถาวรวัตถุอะไรในวัด เจ้าสัวชม รู้เข้าจะต้องเข้าอุปถัมภ์ ทำบุญสร้างถวายทันที นาย โป๊ะ ชมภูนิช และนาย เป้า บุญญานิตย์ ทั้งสองท่านนี้เรียกได้ว่าเป็นคหบดีระดับ เจ้าสัว เหมือนกัน ก็ได้เหรียญไว้คนละหลายเหรียญ โดยเฉพาะ เจ้าสัว โป๊ะ นั้น เป็นผู้บริจาคเงินถึง 2,400 บาท สร้าง โรงเรียนพุทธวิถีนายก ให้แก่ หลวงปู่บุญ เงิน 2,400 บาท สมัยนั้นมีค่าขนาดไหนคิดกันเอาเอง เพราะทองคำหนักบาทละ 12 บาทเท่านั้น
พระผงเจ้าสัว ที่จัดสร้างขึ้นครั้งนี้ ได้ดำเนินการหลังจากเททอง เหรียญเจ้าสัว รุ่น 2 แล้ว ขณะช่างได้ตกแต่ง เหรียญเจ้าสัว เนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง ได้มีผงตะไบจากเนื้อต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของ ยันต์และชนวนสำคัญ มากมาย จึงพิจารณาว่าหากนำเอาผงตะไบทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดงนั้นมาเป็นส่วนผสมกับผงเก่าของ หลวงปู่บุญ ที่เหลืออยู่ก็จะได้ พระผง อันมีคุณวิเศษทีเดียว เท่ากับว่า แขวนเพียงหนึ่งได้ถึงห้า คือได้ทั้งเนื้อผง เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดง พระผง เจ้าสัว นอกจากจะประกอบด้วย ผงสำคัญต่างๆ ของ วัดกลางบางแก้ว ดังนี้แล้ว ยังมีผงอื่นๆ อีกมากมาย คือผงจาก วัดกลางบางแก้ว
1. ผงตะไบ เหรียญเจ้าสัว ทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง
2. ผงเก่า ของ หลวงปู่บุญ อันประกอบด้วย ผงพุทธคุณ ผงตรีนิสิงเห ผงอิทธิเจ ผงปถมัง และ ผงมหาราช
3. ผงเก่า ชื่อ เทพรำจวน ของ หลวงปู่บุญ
4. ผงยาจินดามณี ของ หลวงปู่บุญ
5. ผงขมิ้นเสก ของ หลวงปู่บุญ - หลวงปู่เพิ่ม
6. สีผึ้งเมตตา พญาหงส์ทอง ของ หลวงปู่บุญ
ผงจากท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย (ณัฏฐ์ ศรีวิหค) มีดังต่อไปนี้
อิทธิมงคลวัตถุอันทรงคุณวิเศษ 10 ประการ คือ
1. ผงจิตรลดา
2. ผงอธิษฐานจิต โดย เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส
3. ผงอธิษฐานจิต โดย หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
4. ผงอธิษฐานจิต โดย พระราชสังวราราม (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
5. ทรายเงิน อธิษฐานจิตโดย พระอุดมสังวรวิสุทธิเถระ (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม
6. ทรายเงิน ทรายทอง ผงดอกบัว อธิษฐานจิตโดย พระอาจารย์ยันตระ (อมโรภิกขุ)
7. ทรายเงิน อธิษฐานจิตโดย พระโพธิญาณรังสีเถระ (พระอาจารย์จันทร์ คเวสโก) วัดป่าชัยรังสี
8. ทรายเงิน พิธีพุทธาภิเษก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2530
9. น้ำศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จากทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย และประกอบพิธีใหญ่จาก วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2530
10. ผงพิเศษ จากแผ่นผงที่พระคณาจารย์ลงอักขระและแผ่เมตตา จำนวน 108 รูป ทั่วประเทศ
3. รูปหล่อ หลวงปู่บุญ
รูปหล่อ หลวงปู่บุญ นั่งขัดเพชร ลักษณะเป็นรูปหล่อโลหะผสม ชนวนจาก เหรียญเจ้าสัว ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว หลวงปู่บุญ นั่งขัดเพชร สองมือยันเข่าทั้งสองข้าง จะทำพิธีหล่อพร้อม เหรียญเจ้าสัว นับเป็น รูปหล่อรุ่นแรก สำหรับลักษณะนั่งขัดเพชร
4. เหรียญ ร.5 ดวงมหาราช-ปราชญ์ รัตนโกสินทร์
ด้านหน้าเป็น พระบรมฉายาลักษณ์ พระพักตร์เฉียงเล็กน้อย ด้านหลังเป็น ดวงพระราชสมภพ สร้างขึ้น 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ (ทองคำหนักประมาณ 1 บาท) และขนาดเล็ก (ทองคำหนักประมาณ 8 กรัม) รูปเหรียญ เป็นรูปทรงไข่ขนาดงดงาม ฝีมือช่าง โสภณ ศรีรุ่งเรือง บรรจงแกะแม่พิมพ์ได้เหมือนมีชีวิตมาก และโอกาสนี้ได้สร้างแบบพิเศษขึ้น คือ เหรียญทองคำ ลงยา แบบราชาวดี ซึ่งงดงามมาก มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งจะสร้างเฉพาะเท่าที่สั่งจองเท่านั้น
ทั้งสองขนาดมีลักษณะเนื้อที่สร้างและจำนวนการสร้างเท่าๆ กัน ดังนี้
1. เนื้อทองคำ ลงยา ราชาวดี 250 เหรียญ
2. เนื้อทองคำ 250 เหรียญ
3. เนื้อเงิน 1,000 เหรียญ
4. เนื้อนวโลหะ 2,000 เหรียญ
5. เนื้อทองแดง 5,000 เหรียญ
พิธีพุทธามังคลาภิเษก คณะกรรมการ ซึ่งมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นประธานการสร้างฝ่ายฆราวาส ได้นำมงคลวัตถุชุดนี้ทั้งหมดไปให้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช แผ่เมตตาจิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นปฐมฤกษ์
จากนั้นในวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2535 ทำพิธีพุทธามังคลาภิเษก ณ โบสถ์ วัดกลางบางแก้ว ในเวลา 13.39 น. อันได้ตำแหน่ง มหัทธโนฤกษ์ คือ ฤกษ์แห่งผู้มีทรัพย์ โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นประธานจุดเทียนชัย และได้นิมนต์พระคณาจารย์มาร่วมพิธีพุทธมังคลาภิเษก ดังนี้คือ
1. พระครูสิริชัยคณารักษ์ ( สนั่น ) เจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้ว เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
2. พระอาจารย์เจือ ปิยะสีโล วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
3. พระครูเกษมธรรมนันท์ ( แช่ม ) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
4. พระครูเกษมนวกิจ ( เต้า ) วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม
5. พระครูเกษมธรรมรักษ์ ( ยะ ) วัดท่าข้าม จ.นครปฐม
6. พระครูสาธุกิจวิมล ( เล็ก ) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
7. พระครูปุริมานุรักษ์ ( พูล ) วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
8. พระครูวิชัยวุฒิคุณ ( ดี ) วัดสุวรรณาราม จ.นครปฐม
9. พระครูฐาปนกิจสุนทร ( เปิ่น ) วัดบางพระ จ.นครปฐม
10. พระครูสุนทรวุฒิคุณ ( พุฒ ) วัดกลางบางพระ จ.นครปฐม
11. พระครูชัยสิทธิ์วิศาล ( ลำเจียก ) วัดศาลาตึก จ.นครปฐม
12. พระราชอุดมมงคล ( หลวงพ่ออุตตมะ ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
13. พระครูกาญจโนปมคุณ ( ลำใย ) วัดทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี
14. พระราชญาณรังสี ( หลวงตาจันทร์ ) วัดป่าชัยรังสี จ.สมุทรสาคร
15. พระราชมงคลญาณ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
16. พระครูศรีวิสุทธานุวัตร วัดไตรมิตร กรุงเทพฯ
17. หลวงพ่อขาว วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา
18. หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี
19. พระราชสิงหคณาจารย์ ( หลวงพ่อแพ ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
20. พระครูอินทคณานุสรณ์ ( เจ็ก ) วัดระนาม จ.สิงห์บุรี
21. พระครูวิชาญชัยคุณ ( สำราญ ) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
22. หลวงพ่อนะ วัดหนองบัว จ.ชัยนาท
23. หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ จ.ชัยนาท
24. หลวงพ่อบุญตา วัดโคกเกตุ จ.ลพบุรี
25. หลวงพ่อต่วน วัดตะวันเย็น จ.ลพบุรี
26. หลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง จ.ลพบุรี
27. พระครูนิวาตธรรมโกศล ( แนม ) วัดเขาหน่อ จ.นครสวรรค์
28. หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ จ.นครสวรรค์
30. พระครูนิยุตธรรมกิจ ( เศียร ) วัดอินทาราม จ.นครสวรรค์
31. หลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี
32. หลวงพ่อตี๋ วัดสังกัสคีรี จ.อุทัยธานี
33. พระครูอุทัยคณาภิรักษ์ ( ประชุม ) วัดพิชัยปุรณาราม จ.อุทัยธานี
34. พระครูวิรุฬห์ หิรัญพงษ์ ( เชื้อ ) วัดคงคาราม จ.พิจิตร
35. พระครูสุตพลวิจิตร ( คร่ำ ) วัดวังหว้า จ.ระยอง
36. พระครูสุนทรธรรมานุศาสน์ ( รวย ) วัดท่าเรือแกลง จ.ระยอง
37. พระครูสุนทรสุวรรณกิจ ( ดี ) วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
38. พระครูธรรมสารรักษา ( ป่วน ) วัดหนองบัวทอง จ.สุพรรณบุรี
39. พระครูปรีชาวุฒิคุณ ( ฮวด ) วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี
40. พระครูภาวนาวรกิจ ( เล็ก ) วัดเขาดิน จ.กาญจนบุรี
41. พระครูสุคนธศีลคุณ ( หอม ) วัดท่าอิฐ จ.อ่างทอง
42. พระครูนนทสิทธิการ ( ประสิทธิ์ ) วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
43. พระครูวิชัยประสิทธิคุณ ( เชิญ ) วัดโคกทอง จ.พระนครศรีอยุธยา
44. พระครูเกษมคณาภิบาล ( มี ) วัดมารวิชัย จ.พระนครศรีอยุธยา
45. พระครูสิริปุญญาธร ( วิชัย ) วัดตูม จ.พระนครศรีอยุธยา
46. พระครูสังฆรักษ์ ( เฉลิม ) วัดพระญาติ จ.พระนครศรีอยุธยา
47. พระครูนนทกิจวิบูลย์ วัดปากน้ำ จ.นนทบุรี
48. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ ( เก๋ ) วัดแม่น้ำ จ.สมุทรสงคราม
49. พระครูสุนทรจริยาวัตร ( ม่วง ) วัดยางงาม จ.ราชบุรี
50. พระครูสุนทรธรรมกิจ ( หยอด ) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
51. หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์
52. หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี
53. ครูบาสร้อย วัดสันติคีรี ท่าสองยาง จ.ตาก
54. ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่
55. พระครูไพโรจน์รัตโนบล ( บุญมี ) วัดสระประสานสุข จ.อุบลราชธานี
56. หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
57. หลวงปู่พั่ว วัดบ้านนาเจริญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
58. หลวงปู่กิ วัดสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
59. พระครูเกษมธรรมญาณ ( นำ ) วัดมัชฌิมภูมิวราราม ( วัดท่ายายหนี ) อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
60. พระครูวิจารณ์รัตนคุณ ( พ่อท่านแก้ว ) วัดท่าบอน จ.สงขลา
61. พระอธิการเชือน วัดโพธาราม จ.ตรัง
62. พระครูกาชาด ( บุญทอง ) วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
63. พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
64. พระครูขันติยาภรณ์ ( พรหม ) วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
65. พระครูพิพิธวรกิจ ( คล้อย ) วัดภูเขาทอง จ.พัทลุง
66. หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
67. หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง
68. หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม
69. หลวงพ่อบัวเผื่อน วัดหลังเขา จ.นครสวรรค์
70. พระอาจารย์แอ๊ด วัดทอง จ.พระนครศรีอยุธยา
71. พระครูพิลาศธรรมคุณ (ถม) วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย
72. พระครูสุนทรธรรมวิจารณ์ (ยก) วัดคลองโปร่ง จ.สุโขทัย
73. พระครูจันทโรภาส (จันทร์) วัดท่าข่อย จ.สุโขทัย
74. พระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรพุทธบริษัทจีนเนตา (เย็นเต็ก) วัดโพธิ์แมนคุณาราม กรุงเทพฯ
75. พระคณาจารย์จีนธรรมคณาธิการไพศาลสมณกิจ? (เย็นเชี้ยว) วัดมังกรกมลาวาส กรุงเทพฯ
76. พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (ผูก) วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
|
|
|
|